
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบหลักต่อปริมาณอาหารในหลายภูมิภาคทั่วโลก ระบบการผลิตอาหารถูกคุกคามผ่านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรูปแบบของดินเค็ม ภัยแล้ง และอัคคีภัย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตทางประมงทั้งในน้ำจืดและในมหาสมุทร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้กระทบต่อการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำและการจับปลาในทะเลเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่เพียงแต่เพิ่มอัตราการขยายพันธุ์ของแมลงศัตรูพืชและโรคภัยต่างๆ แต่ยังกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร (Food security) การเข้าถึงอาหาร (Food access) การใช้ประโยชน์ (Utilization) และความเสถียรของราคา (Price stability)
หากไม่มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเลย อุณหภูมิเฉลี่ยอาจสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม (pre-industrial) ซึ้งจพส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตทางการเกษตร (ธัญพืช, ข้าว และข้าวโพด) ในภูมิภาคเขตร้อน (Tropical regions) และภูมิภาคที่อยู่ระหว่างเขตหนาวและเขตอบอุ่น (Temperate regions) ในขณะที่การคาดการณ์ความต้องการทางอาหารเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14 ต่อทศวรรษจนถึงปี พ.ศ. 2593 ในระหว่างปี พ.ศ. 2573-2582 มีการคาดการณ์ว่าผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ผลิตทางการเกษตรเฉลี่ยลดลงร้อยละ 0 -2 ต่อทศวรรษไปเรื่อยๆจนสิ้นศตวรรษนี้ และหลังปี พ.ศ. 2593 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทวีความรุนแรงและมีความถี่มากขึ้น
การรักษาเสถียรภาพทางอาหารในเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดูเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ซึ่งทำให้เกิดการติดขัดหรือการลดลงของปริมาณอาหารที่ผลิตได้ทั่วโลกและในท้องถิ่น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสภาพภูมิอากาศ รูปแบบใหม่ของการแพร่พพันธุ์แมลงและเชื้อโรค
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ส่งออกข้าวและผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลกซึ่งร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมดประกอบอาชีพเกษตรกร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบต่อการเกิดภัยแล้งและน้ำท่วมที่รุนแรงมากขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและระบบการผลิตอาหารตามไปด้วย
แหล่งข้อมูล:
- Intergovernmental Panel on Climate Change, “Food Security and Food Production Systems,” Contribution of Working Group II to the Fifth Assessment Report Climate Change 2014: Impacts Adaptation, and Vulnerability (United Nations, March 2014). http://ipcc-wg2.gov/AR5/images/uploads/WGIIAR5-Chap7_FGDall.pdf