IPCC: Intergovernmental Panel on Climate Change
เป็นคณะกรรมการที่ตั้งขึ้น โดยองค์การสหประชาชาติในปี 2531 เพื่อจัดทำและเสนอแนวทางด้า้นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้แก่ผู้นาในรัฐบาลของแต่ละประเทศ โดยรวบรวมข้อมูลและประเมินผลกระทบในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร สุขภาพ ป่าไม้ หรือ ทรัพยากรชายฝั่ง จนเกิดการรณรงค์เพื่อลดปัจจัยที่จะทาให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อน
UNFCCC: United Nations Framework Convention on Climate Change
เป็นอนุสัญญาฯ ที่เกิดจากความพยายามของประชาคมโลกในการแก้ไขปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เชื่อว่ามีสาเหตุ มาจากปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) เกิดจากการสะสมตัวในชั้นบรรยากาศของก๊าซต่างๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ และสารซีเอฟซี
COP: The Conference of the Parties
เป็นองค์กรสูงสุด (Supreme Body) ของ UNFCCC ซึ่งมีการประชุมครั้งแรกที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน
ใน พ.ศ.2538 (1995) ต่อมาในการประชุมครั้งที่ 3 (COP-3) ใน พ.ศ. 2540 (1997) ได้มีการยอมรับพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
ซึ่งให้ประเทศพัฒนาแล้วลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง ร้อยละ 5 ของการปลดปล่อยใน พ.ศ. 2533(1990) ภายใน พ.ศ. 2551-2555(2008-2012) โดยสามารถลดภายนอกประเทศได้ และประเทศกาาลังพัฒนาแล้วให้ร่วมมือได้ ภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism หรือ CDM)
KP: Kyoto Protocol
เป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่ดาาเนินการเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย ในการรับมือกับสภาวะโลกร้อน (Global Warming) ตามอนุสัญญา
สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change-UNFCCC) เป็นกลไกในการทาให้อนุสัญญาดังกล่าว มีผลในทางปฏิบัติ โดยจากัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศอุตสาหกรรมหรือเรียกว่าประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ 1 (Annex I Countries) ให้อยู่ในระดับ
ที่ต่ากว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือน กระจกในปี พ.ศ. 2533ประมาณร้อยละ 5โดยจะต้องดาเนินการให้ได้ภายในช่วงปี พ.ศ. 2551-2555(2008-2012) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548