นับจากช่วงทศวรรษ 1980 หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงผลจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเนื่องมาจากกิจกรรรมต่าง ๆ ของมวลมนุษยชาติ ก่อให้เกิดสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเชื่อว่าเป็นภัยคุกคามที่สำคัญของโลก ต่อมาจึงนำไปสู่การยกร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) ขึ้นและมีมติรับรองในวันที่ 9 พฤษภาคม 2535 ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา และมีผลบังคับใช้เมื่อ 21 มีนาคม 2537
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นสมาชิก โดยมีวัตถุประสงค์ “เพื่อให้บรรลุถึงการรักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่ อยู่ในระดับที่ปลอดภัยจากการแทรกแซงของมนุษย์ที่เป็นอันตรายต่อระบบภูมิอากาศ การรักษาระดับดังกล่าว ต้องดำเนินการในระยะยาวเพียงพอที่จะทำให้ระบบนิเวศปรับตัว โดยไม่คุกคามต่อการผลิตอาหารของมนุษย์และการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน”
ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2559 ประเทศสมาชิกได้มีมติเห็นชอบกับความตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่มีเป้าหมายระยะยาว ควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยให้น้อยกว่า 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม และมุ่งมั่นพยายามในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีสเมื่อ 21 กันยายน 2559 (ความตกลงปารีสมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ
ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีสเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 ณ นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา (ความตกลงปารีสมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2559) โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศว่า “การเข้าเป็นภาคีความตกลงปารีสเป็นก้าวที่สำคัญยิ่งก้าวหนึ่งของไทย ประเทศไทยเข้าร่วมเพราะตระหนักในความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนที่จะรักษาโลกนี้ไว้ให้กับลูกหลาน…เจตนารมณ์อันแน่วแน่ของประเทศไทยในการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และมีความต้านทานต่อสภาพภูมิอากาศ”
สำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 23 หรือ COP 23 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6 – 17 พฤศจิกายน 2560
ณ เมืองบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยเป็นการหารือการดำเนินความร่วมมือภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พิธีสารเกียวโต และความตกลงปารีส โดยเป็นการเตรียมความพร้อมด้านกระบวนการและแนวปฏิบัติเชิงเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการมีผลใช้บังคับของความตกลงปารีส
ขอบเขต | วัตถุประสงค์ | |
1. การศึกษา 2. การฝึกอบรม | 1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะยาว 2. พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและเพิ่มความชำนาญ | ส่งเสริมความเข้าใจและความสามารถในการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบจากภาวะโลกร้อน |
3. การสร้างจิตสำนึก 4. การเข้าถึงข้อมูลข่างสารของสาธารณชน | 3. สามารถเข้าถึงผู้คนทุกเพศทุกวัยและทุกวิถีชีวิต 4. เผยแพร่และให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครอบคลุมและอิสระ | ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ความคิดสร้างสรรค์ และความรู้ในการแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
5. การมีส่วนร่วมของประชาชน 6. ความร่วมมือระหว่างประเทศ | 5. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งในกระบวนการตัดสินใจและดำเนินการ 6. เสริมสร้างความร่วมมือ ความพยายามร่วมกัน และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้และบทเรียน | โน้มน้าวและดึงดูดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ในการอภิปรายและเป็น หุ้นส่วนในการตอบสนองในภาพรวมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
องค์ประกอบ ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของกิจกรรมภายใต้มาตรา 6 ของกรอบอนุสัญญาฯ
รายละเอียดเพิ่มเติม
https://datacenter.deqp.go.th/service-portal/cop23/qr-code/
https://datacenter.deqp.go.th/service-portal/cop23/exhibition/